บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 12.20-15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435
ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเรียนอาจารย์ให้ดูวิดีโอ "ผลิตบานผ่านมือครู"
มีกิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ เช่น กิจกรรม โยนรับส่งบอลกับบทเพลง,หยิบยกส่ง,ผึ้งย้ายรัง
วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ >>> ทักษะทางภาษา
ทักษะทางภาษา คือพวกเพลง นิทาน คำคล้องจ้อง
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
**ถ้าเด็กในห้องเรียนคนไหนไม่มีครบทั้ง 5 ข้อ เด็กคนนั้นน่าเป็นห่วง
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด เช่น เด็กLD
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง
**สิ่งเหล่านี้ถ้าเด็กอนุบาลเป็นไม่ถือว่าผิดปกติ
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด (อย่าเพ่งเลงกับการติดอ่าง)
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กำำลังพูด (ปล่อยให้เด็กพูดไปตามสบาย ให้เด็กพูดให้จบ)
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น(*ห้ามทำเด็ดขาดกับห้องเรียนรวม)
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน (บางครั้งเด็กหูไม่ค่อยดีไม่ค่อยได้ยิน)
ทักษะพื้นฐานทางภาษา (เด็กพิเศษสำคัญมาก จะต้องรับรู้เรื่องภาษาได้)
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด (เด็กพิเศษทุกอาการชอบทำ)
**ครูต้องดูให้ออกเมื่อเด็กแสดงอาการนั้นหมายถึงอะไร
ตัวอย่าง ตารางการเช็คพฤติกรรมเด็ก
**ถ้าเด็กคนไหนมีน้อยเด็กคนนั้นน่าเป็นห่วง การรับรู้ของเด็กมาก่อนการแสดงออก
การรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนกาแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ใหญ่ที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)**สำคัญมาก
- เน้นวิธีการสื่อสารความหมายมากกว่าพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ้งพูดได้มากกว่าเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (ชอบใช้มากกับเด็กพิเศษ)
ตัวอย่างการสอนตามเหตุการณ์
- ตัวอย่างสถานการณ์ : น้องกำลังทำท่าสวมผ้ากันเปื้อน น้องกำลังจะพยายามมัดเอวแต่มัดไม่ได้ คนเป็นครูเข้าไปใกล้เด็กและใช้วิธีบอกบทพยายามบอกน้องเสมอพูดซ้ำไปเรื่อยๆจะผูกให้น้องก็ต่อเมื่อน้องพูดคำว่า "ผ้ากันเปื้อน" ก่อน แต่ถ้าน้องไม่พูดให้ครูผูกให้เลย
วันนี้ทำกิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ ดนตรีและศิลปะบำบัด
- โดยอาจารย์ให้จับคู่กันสองคน และให้ใช้สีที่แตกต่างกันลากเส้นตรงพร้อมกับจังหวะเพลงไปทางไหนก็ได้ห้ามโค้งจากนั้นให้ระบายสีลงในช่องว่างให้ครบทุกช่อง พยายามให้เส้นตรงนั้นตัดกันมากที่สุด บรรยากาศในห้องนั้นต้องเงียบ
ผลงานของพวกเรา
ผลงานของเพื่อนๆ
- กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ เกิดมิติสัมพันธ์ ส่งเสริมทักษะทางสังคมและทักษะทางภาษา เด็กได้ปลดปล่อยอารมณ์ **เด็กออทิสติกส่วนมากนิยมใช้กิจกรรมนี้ และครูสามารถเข้าใจจิตใจของเด็กว่าเด็กคิดอย่างไร เช่น ภาพไหนที่เส้นไม่เยอะ ช่องว่างไม่ค่อยมี เด็กคนนั้นเป็นเด็กที่เรียบง่าย เป็นเด็กที่คิดไม่เยอะดูไม่ซับซ้อน ส่วนภาพไหนที่เส้นเยอะพันกันมั่ว ช่องว่างเต็มทุกสี จะเป็นเด็กที่คิดเยอะ วุ่นวาย มีความสับสนอยู่ในหัวตลอดเวลา
ตัวอย่างผลงานของเด็กออทิสติก
บรรยากาศในการทำกิจกรรม
การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถนำกิจกรรมบำบัดมาใช้กับเด็กพิเศษเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมและทักษะทางภาษาให้กับเด็ก
2. สามารถนำตารางเช็คพฤติกรรมของเด็กมาปรับประยุกต์ใช้ในอนาคต
3. สามารถรู้ถึงวิธีปฎิบัติและความรับผิดชอบที่นำมาใช้ได้ในอนาคต
ประเมินหลังการเรียนการสอน
ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนมีบางครั้งเสียสมาธิไปบ้าง แต่ก็ดึงกลับมาได้ จดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่อาจารย์สอน ตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
เพื่อน : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอนมีจดบันทึกเพิ่มเติม มีการออกความคิดเห็นระหว่างเรียนบ้าง ร่วมมือและตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น