to my blogger

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2558
ครั้งที่ 11 เวล่เรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435
ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมสนุกมาให้ทำ เป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยา
กิจกรรม : ดิ่งพสุธา

เข้าสู่บทเรียน วันนี้เรียนเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางการเรียน"
เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า " ฉันทำได้ " (เพื่อให้เด็กรู้สึกมั่นใจ เขาทำได้เหมือนกับเด็กคนอื่น)
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้พอสมควร
**เด็กปกติมีช่วงความสนใจ 10-15 นาที
**เด็กพิเศษมีช่วงความสนใจไม่ถึง 5 นาที ในการเเล่านิทานควรเลือกนิทานที่สั้นๆกระชับน่าสนใจ เช่น นิทานภาพ เน้นสีสันสวยงาม ตัวหนังสือไม่เยอะ
**ช่วงความสนใจในเด็กป.ตรี มีช่วงความสนใจ 2 ชั่วโมง

การเลียนแบบ >>> เพื่อน ,ครู,พ่อแม่,พี่ที่โตกว่า **เด็กพิเศษชอบการเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูพูดใช่หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่ (เด็กรับคำสั่งได้ไม่เกิน 2 คำสั่ง)
การรับรู้และการเคลื่อนไหว
** เด็กพิเศษประสาทสัมผัสจะช้ามาก
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
กรรไกรแบบไหนที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
แบบที่ 1 เพราะ หัวทู่ หูจับง่ายจับถนัดมือเด็ก

ตัวอย่างการให้เด็กใช้กรรไกรตัดกระดาษ
  • ในการที่จะให้เด็กตัดกระดาษนั้นครูควรขีดเส้น 2-3 เส้น เป็นแนวตรงที่กระดาษ และครูควรเป็นคนจับกระดาษแล้วให้เด็กใช้กรรไกรตัดตามเส้น ในการตัดนั้นควรให้เด็กตัดให้ขาดภายในครั้งเดียว เด็กเขาจะรู้สึกว่าเขาทำได้
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  • ลูกปัดไม้ขนากใหญ่ (เพราะ ง่าย,จับสะดวก,มีน้ำหนัก)
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก (ควรจะมีรูปแค่ด้านเดียว)
  • บล็อคไม้ (เด็กจะต่อบล็อคไม้ตามรูปได้ต้องอายุ 4 ขวบ)
- สมมุติมีเด็กอยู่ 3 คน เด็กปกติ 2 คนและเด็กพิเศษ 1 คน ต้องให้เด็กวางทีละคน วางตามแบบ ถ้าเด็กพิเศษหยิบมาไม่ถูกต้องตามแบบ ครูต้องพูดชี้นำหรือบอกเด็กเลย
ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู ชื่อเพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์
  • การวัด
  • การนับ
  • การสังเกต
  • การสำรวจ
  • การทดลอง
  • การจำแนก
  • การเปรียบเทียบ
  • เมื่อเด็กเล่นเครื่องเล่นสนามในภาพนี้เราจะสอนเกี่ยว มิติสัมพันธ์ เรื่อง บน-ล่าง , นอก-ใน , สูง-ต่ำ การนับขั้น การนับก้าว
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติอชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เครียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี (ชมเด็ก)
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก
การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษได้
2. สามารถเข้าใจและพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้านได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจร่วมกิจกรรม ตั้งใจเรียน มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย มีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหา
 เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในกิจกรรม สนุกสนาน ตั้งใจเรียน จดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่อาจารย์สอน ทุกคนพร้อมที่จะเรียน มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
 อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เตรียมเนื้อหาที่สอนมาละเอียดครบถ้วน มีกิจกรรมคลายเครียดมาให้เล่นเพื่อทำให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน อธิบายและยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ใส่ใจนักศึกษาทุกครั้ง ตักเตือนบ้างเล็กน้อยเมื่อเริ่มคุยทำให้ดึงสมาธิกลับมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น