to my blogger

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 28 เมษายน 2558
(เรียนชดเชยวันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2558)
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 12.00 - 15.00 กลุ่ม 104 ห้อง435
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่อง "โปรมแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล"
แผน IEP >>> แผน IEP ส่วนมากจะเขียน 1 ปีการศึกษา
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนำด้รับการสอน แลัการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนแลัวิธีการวัดการประเิมนผล (ต้องมีการเซ็นต์ยินยอมในการยอมรับแผน IEP)
** บุคคลที่ต้องมานั่งเขียนแผน IEP ร่วมกัน คือ ครูประจำชั้น,พ่อแม่,ผู้เชี่ยวชาญ,ผ.อ
การเขียนแผน IEP 
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร (ต้องรู้ข้อมูลที่ลึกของเด็ก)
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทรายว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทะกษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP (สอนไปต้องสังเกตเด็กไปเรื่อยๆและมีการจดบันทึกทุกวัน) 
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น **จุดสำคัญที่ครูต้องเขียน
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน คาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได่รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้ามหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบน่วมกับครูจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง *ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องลงลายมือชื่อทุกคน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจนแม้จะกว้าง 
          - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
          - น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
          - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายในจุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะเวลา 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
**ต้องเป็นเชิงพฤติกรรมเด็ก เป็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาให้เห็น
ตัวอย่างเช่น
3. การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสนอให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
          1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
          2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
          3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล          
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจะใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน **
การจัดทำแผน IEP
หลังการเรียนเสร็จอาจารย์ให้ลงมือเขียนแผน IEP เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยมีตัวอย่างให้ดูดังนี้
แผน IEP ของกลุ่มดิฉัน 
บรรยายกาศการเขียนแผน IEP


เมื่อเรียนเขียนแผน IEP เสร็จก็ถึงเวลาสนุกแล้ว...นั่นก็คือการสอบร้องเพลง โดยในการสอบครั้งนี้อาจารย์ให้จับฉลากว่าจะได้ร้องเพลงอะไร
ดิฉันจับได้เพลง อาบน้ำซู่ซ่า 

"อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าล้างตา 
ฟองสบู่ถูตัว ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ"
 อาจารย์มีรางวัลเด็กดีแจก สำหรับคนที่มาเรียนประจำและก็ได้ดาวเพิ่ม ในปีที่นี้ดิฉันได้รางวัลเด็กดีด้วย ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ ที่แจกรางวัลเด็กดีเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการเรียน ต่อไป
การนำความรู้ไปใช้
1. สามารถนำแผน IEP ไปเขียนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะต่างๆให้เด็กพิเศษในอนาคตได้
2. ได้รู้ถึงการเขียนแผนสำหรับเด็กพิเศษว่าควรเขียนอย่างไรและนำไปใช้อย่างไร ทำให้สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต
  • ก่อนจะปิดคอร์ส อาจารย์ได้พูดความรู้สึกที่มีต่อนักศึกษา ส่วนความรู้สึกของหนูนั้น หนูมีความสุขมากๆค่ะที่ได้เจอกับอาจารย์อีก ได้เรียนกับอาจารย์ทำให้ไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลายทุกครั้งที่เข้าเรียน เลยทำให้อยากเข้ามาเรียน รู้สึกสนุกทุกครั้งที่เรียน อาจารย์เป็นกันเองมากๆค่ะ อาจารย์เอาใจใส่นักศึกษาดีมาก คอยให้คำปรึกษาทุกเรื่อง คอยแก้ไขปัญหาให้ คอยอบรมและบอกในเรื่องต่างๆ อาจารย์ชอบมีประสบการณ์จริงที่อาจารย์ได้เจอมาเล่าในห้องทำให้เข้าใจเด็กพิเศษมากขึ้น อาจารย์น่ารักทุกครั้งที่ได้เจอ คุยเล่นเป็นกันเอง แซวได้ไม่โกรธ ถึงกลุ่มพวกหนูนั้นจะคุยมากกกกกกก กว่ากลุ่มเพื่อน อาจารย์ก็จะคอยเตือนแต่ไม่เคยโกรธ ขอบคุณอาจารย์สำหรับทุกๆเรื่องมากค่ะ  สุดท้ายนี้หนูอยากจะขอโทดอาจารย์ในบางครั้งที่ดื้อบ้าง ไม่ค่อยเชื่อฟังบ้าง บางครั้งอาจจะแซวอาจารย์แรงเกินไป คุยมากในวิชาเรียน ต่อไปนี้หนูจะตั้งใจเรียน ไม่ดื้อไม่ซน และจะลดการคุยลงค่ะ ไม่คิดเลยว่าจะไม่ได้เรียนกับอาจารย์อีก อยากเรียนกับอาจารย์ไปในทุกๆเทอมจนจบเลย แต่ถึงยังไงอาจารย์จะอยู่ในใจหนูตลอดไปค่ะ 
รักอาจารย์นะค่ะ
  • เพื่อน : ในเทอมนี้เป็นเทอมที่ปรับใหม่ให้ห้องเรียนมี 30 คน รู้สึกอบอุ่นมาก ทำให้รู้สึกสนิทสนมกันมากขึ้น เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน เวลาเล่นก็เล่น สนุกด้วยกัน ทุกคนมีน้ำใจต่อกัน คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แอบสงสารเพื่อนที่ได้มาเรียนกับกลุ่มหนู เพราะกลุ่มหนูคุยเก่ง เสียงดัง อาจจะไปรบกวนสมาธิเพื่อนกลุ่มอื่นๆ แต่เพื่อนก็ไม่เคยว่าอะไร (หรือแอบว่าในใจ 555 ) ขอบคุณเพื่อนทุกๆคนที่คอยช่วยเหลือ และมีน้ำใจต่อกันในทุกๆเรื่อง
 "พวกหนูรักอาจารย์เบียร์ค่ะ"

ปิดคอร์ส

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2558
ครั้งที่ 11 เวล่เรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435
ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมสนุกมาให้ทำ เป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยา
กิจกรรม : ดิ่งพสุธา

เข้าสู่บทเรียน วันนี้เรียนเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางการเรียน"
เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า " ฉันทำได้ " (เพื่อให้เด็กรู้สึกมั่นใจ เขาทำได้เหมือนกับเด็กคนอื่น)
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้พอสมควร
**เด็กปกติมีช่วงความสนใจ 10-15 นาที
**เด็กพิเศษมีช่วงความสนใจไม่ถึง 5 นาที ในการเเล่านิทานควรเลือกนิทานที่สั้นๆกระชับน่าสนใจ เช่น นิทานภาพ เน้นสีสันสวยงาม ตัวหนังสือไม่เยอะ
**ช่วงความสนใจในเด็กป.ตรี มีช่วงความสนใจ 2 ชั่วโมง

การเลียนแบบ >>> เพื่อน ,ครู,พ่อแม่,พี่ที่โตกว่า **เด็กพิเศษชอบการเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูพูดใช่หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่ (เด็กรับคำสั่งได้ไม่เกิน 2 คำสั่ง)
การรับรู้และการเคลื่อนไหว
** เด็กพิเศษประสาทสัมผัสจะช้ามาก
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
กรรไกรแบบไหนที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
แบบที่ 1 เพราะ หัวทู่ หูจับง่ายจับถนัดมือเด็ก

ตัวอย่างการให้เด็กใช้กรรไกรตัดกระดาษ
  • ในการที่จะให้เด็กตัดกระดาษนั้นครูควรขีดเส้น 2-3 เส้น เป็นแนวตรงที่กระดาษ และครูควรเป็นคนจับกระดาษแล้วให้เด็กใช้กรรไกรตัดตามเส้น ในการตัดนั้นควรให้เด็กตัดให้ขาดภายในครั้งเดียว เด็กเขาจะรู้สึกว่าเขาทำได้
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  • ลูกปัดไม้ขนากใหญ่ (เพราะ ง่าย,จับสะดวก,มีน้ำหนัก)
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก (ควรจะมีรูปแค่ด้านเดียว)
  • บล็อคไม้ (เด็กจะต่อบล็อคไม้ตามรูปได้ต้องอายุ 4 ขวบ)
- สมมุติมีเด็กอยู่ 3 คน เด็กปกติ 2 คนและเด็กพิเศษ 1 คน ต้องให้เด็กวางทีละคน วางตามแบบ ถ้าเด็กพิเศษหยิบมาไม่ถูกต้องตามแบบ ครูต้องพูดชี้นำหรือบอกเด็กเลย
ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู ชื่อเพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์
  • การวัด
  • การนับ
  • การสังเกต
  • การสำรวจ
  • การทดลอง
  • การจำแนก
  • การเปรียบเทียบ
  • เมื่อเด็กเล่นเครื่องเล่นสนามในภาพนี้เราจะสอนเกี่ยว มิติสัมพันธ์ เรื่อง บน-ล่าง , นอก-ใน , สูง-ต่ำ การนับขั้น การนับก้าว
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติอชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เครียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี (ชมเด็ก)
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก
การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษได้
2. สามารถเข้าใจและพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้านได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจร่วมกิจกรรม ตั้งใจเรียน มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย มีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหา
 เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในกิจกรรม สนุกสนาน ตั้งใจเรียน จดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่อาจารย์สอน ทุกคนพร้อมที่จะเรียน มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
 อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เตรียมเนื้อหาที่สอนมาละเอียดครบถ้วน มีกิจกรรมคลายเครียดมาให้เล่นเพื่อทำให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน อธิบายและยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ใส่ใจนักศึกษาทุกครั้ง ตักเตือนบ้างเล็กน้อยเมื่อเริ่มคุยทำให้ดึงสมาธิกลับมา

ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เรียนชดเชย
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยแทน

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 12.20-15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก สอบเก็บคะแนนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด
 เก็บคะแนน 10 คะแนน


ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 12.20-15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ตอนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นกันด้วย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับความยับยั้งชั่งใจ
กิจกรรม ไปเที่ยวไร่สตอเบอร์รี่กันเถอะ
เดินไปเรื่อยๆเจอไร่สตอเบอร์รี่อยากกินมาก แต่มีรั้วขวางอยู่คิดว่ารั้วนั้นสูงเท่าไหร่
ตอนนี้ได้เดินข้ามรั้วเข้ามาแล้ว เราจะกินสตอเบอร์รี่ทั้งหมดกี่ลูก
ขณะที่กำลังกินสตอเบอร์รี่อย่างอร่อย ทันใดนั้นเจ้าของไร่ได้วิ่งมา และตะโกนต่อว่า เราจะบอกกับเจ้าของไร่ว่าอย่างไร
ขณะที่กำลังเดินออกจากไร่สตอเบอร์รี่นั้นรู้สึกอย่างไร
เฉลยบททดสอบความยับยั้งชั่งใจของตัวเราเอง
- ความสูงของรั้วนั้นหมายถึงความยับยั้งชั่งใจ
- กินสตอเบอร์รี่ไปกี่ลูก หมายถึงขณะคบกับแฟนนั้นเรามีกิ๊กกี่คน
- และถ้าแฟนจับได้ว่ามีกิ๊กจะตอบแฟนว่าอย่างไร
- เมื่อเรานอกใจแฟนไปแล้วเราจะรู้สึกอย่างไรกับการกระทำนี้

ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์มีเพลงมาให้ร้องด้วย
ตัวอย่างเพลง
บรรยากาศในการร้องเพลง
เข้าสู่บทเรียน วันนี้เรียน "ทักษะการช่วยเหลือตนเอง"
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด (ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาใคร )
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
**ถ้าไม่อิสระเด็กจะไปอยู่ตามสถานสงเคราะห์ หรือศูนย์การศึกษาพิเศษ
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
เช่น การผูกเชือกรองเท้าครั้งแรกในชีวิต ถ้าเขาผูกด้วยตนเองได้เขาก็จะผูกซ้ำๆอยู่อย่างนั้น ครูควรพูดให้กำลังใจเด็ก 
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได่ทำด้วยตนเอง 
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • **ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ครูต้องรู้จักใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม่กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำเองได้ หากให้เวลาเด็กทำ
  • ห้ามบอกเด็กว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" 
**เด็กมาขอให้ครูช่วยเหลือเรื่องอะไร ให้ช่วยแค่นั้นอย่าช่วยเด็กเกินความจำเป็น

จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร ,หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย (ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ครูสามารถช่วยได้)
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือ ในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องๆด้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
**ส่วนมากเด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กดาวซินโดม เด็ก CP ทำไม่ค่อยได้
ลำดับขั้นตอนในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน

ตัวอย่างการพาน้องดาวเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่วบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้นตอน
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
** มอนเตสซอรี่ เป็นรูปแบบการจัดให้กับเด็กพิเศษรูปแบบหนึ่ง เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือของเด็ก

กิจกรรมหลังเรียน ชื่อกิจกรรม : ต้นไม้แห่งจิตใจ
  • อาจารย์ได้แจกกระดาษมาหนึ่งแผ่น ให้นำสีเทียนมาจุดตรงกลางกระดาษหนึ่งจุด จากนั้นก็ใช้สีเทียนสีอื่นวาดวงกลมไปเรื่อยๆจะขนาดเล็กหรือใหญ่ตามใจ้เสร็จแล้วให้ตัดวงกลมออกแล้วนำวงกลมไปแปะบนต้นไม่ที่อาจารย์เตรียมไว้ให้
ต้นไม้แห่งจิตใจสำเร็จสมบูรณ์
บรรยากาศเพื่อนๆช่วยกันแปะวงกลมให้กับต้นไม้
  • ในกิจกรรมครั้งนี้ช่วยให้เด็กพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เด็กจะระบายสีตามอารมณ์ของตัวเอง ได้รู้ถึงคณิตศาสตร์มิติสัมพันธ์ ฝึกความร่วมมือของบุคคลในห้องเรียน ฝึกสมาธิให้กับเด็กอีกด้วย **การที่เด็กระบายสีนั้นเราสามารถรู้ลักษณะของเด็กได้เลย เช่น ถ้าเด็กคนไหนใช้สีเข้มระบาย แสดงว่าเด็กคนนั้นเป็นคนที่มั่นใจในตนเองสูง
การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถนำกิจกรรมไปจัดกับเด็กเพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะต่างๆ
2. ได้รู้ถึงทักษะของเด็กในวัยต่างๆ ทำให้สามารถส่งเสริมให้ตรงกับทักษะนั้นๆ
3. สามารถนำทักษะการช่วยเหลือตนเองนี้ไปปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับเด็กที่ต้องการพัฒนา

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจร้องเพลงที่อาจารย์นำมาให้ อาจจะมีร้องเพี้ยงไปบ้าง ต้องฝึกร้องบ่อยๆ ตั้งใจทำกิจกรรม จดบันทึกเพิ่มเติมต่างๆ
 เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจร้องเพลง ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆด้วยความสนุกสนาน มีส่วนร่วมในห้องเรียน มีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่อาจารย์สอน
 อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจมาสอนเตรียมเนื้อหาการสอนอย่างละเอียดทำให้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมต่างๆมาให้ทำ เพื่อเป็นการผ่อนคลายก่อนเรียน ใส่ใจนักศึกษาทุกคน มีเพลงมาให้ร้องเพื่อเก็บไว้ใช้ได้ในอนาคต