to my blogger

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2558
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435

ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำ ก่อนจะเข้าเนื้อหาของการเรียนการสอน อาจารย์ให้วาดรูปดอกบัวโดยมีแบบมาให้ ให้นักศึกษาวาดให้เหมือนในแบบที่ให้มาพร้อมทั้งบรรยายสิ่งที่เราเห็นในภาพดอกบัวนั้น

รูปต้นฉบับ

รูปดอกบัวของดิฉัน
ปล. รูปดอกบัวนี้ดิฉันไม่ได้เป็นคนวาดเองไม่สามารถวาดเองได้จริงๆ เลยขอให้นายอรุณ วางหลักเป็นคนช่วยวาดให้

วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
  • ครูไม่ควรวินิจอาการของเด็ก การวินิจฉัยโดยดูจากการอาการของเด็กนั้นอาจจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  • ครูไม่ควรตั้งฉายาหรือระบุประเภทเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป อาจจะเกินผลเสียมากกว่าผลดี
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก (สิ่งที่เด็กทำได้) แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิด

ครูทำอะไรบ้าง
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ (มีการจดบันทึก) ** เด็กคนนี้เข้าข่ายต้องสงสัยครูเป็นผู้สังเกตเด็กได้ดีที่สุด เพราะ ครูอยู่กับเด็กตลอดเวลา หมอจะไม่เห็นภาพรวมของเด็กเหมือนที่ครูเห็น

การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่าย >>> นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมของเด็ก จับเวลาเด็กทำพฤติกรรมนั้นกี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั้วโมง
  • การบันทึกแบบต่อเนื่อง >>> ให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่งโดยครูไม่ต้องเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ (ใช้เวลามาก แบบนี้ดีที่สุดได้รายละเอียดครบสุด บันทึกทุกคำพูดของเด็ก)

ตัวอย่างเช่น
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง >>> บันทึกลงบัตรเล็กๆ (อย่าเขียนเยอะ) ต้องการความไวในการสังเกต
ตัวอย่างเช่น

        - การที่เป็นครูปฐมวัยนั้นเราต้องสังเกตเด็กจากพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา จากสิ่งที่ได้เห็นจริงๆ ห้ามมีอคติกับเด็กเวลาสังเกตเห็นแบบไหนให้เขียนบันทึกไปแบบนั้น เหมือนกับที่อาจารย์ให้เรามองรูปดอกบัวแล้วบอกว่าเราเห็นอะไรในรูปบ้าง สิ่งที่เห็นในรูปดอกบัวคือ
"ดอกบัวสีม่วงอมชมพู มีกลีบทั้งหมด 14 กลีบ กลีบของดอกบัวซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีเกสรสีเหลือง มีก้านสีเขียว"

กิจกรรมหลังเรียน วันนี้อาจารย์ได้มีเพลงมาสอนร้อง ได้แก่

การนำไปประยุกต์ใช้
1. รู้ถึงการสังเกตเด็กในรูปแบบต่างๆทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต
2. สามารถเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้นผ่านการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก
3. เข้าใจถึงบทบาทครูว่าครูควรทำสิ่งไหนบ้างและไม่ควรทำสิ่งไหนบ้าง

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : เข้าเรียนสายนิดหน่อยวันนี้ไม่ค่อยตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนแต่มีการจดบันทึกเพิ่มเติมเลยทำให้ช่วงทดสอบหลังเรียนทำไม่ค่อยได้เท่าไหร่  ในการทำกิจกรรมวาดรูปยังวาดไม่ได้ต้องให้เพื่อนคอยช่วยเหลือต้องกลับไปฝึกวาดรูป มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย
 เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและมีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากสิ่งที่อาจารย์สอน มีการช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี ช่วยตอบคำถามกันภายในห้องทำให้บรรยากาศให้ห้องสนุกสนาน มีการออกความคิดเห็นบ้างเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นในรูปดอกบัว 
 อาจารย์ : มาสอนตรงเวลา มีเนื้อที่สอนละเอียดครบถ้วน มีการอธิบายเพิ่มเติมทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้ทำ เพื่อให้เกิดความสนุก มีเพลงมาสอนร้องเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้เอาไว้ใช้ในอนาคต ใส่ใจรายละเอียดในการทำงานของนักศึกษาทุกคนดีมากๆเลยค่ะ


วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2558
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา
รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งได้ดังงนี้
- การศึกษาปกติทั่วไป
- การศึกษาพิเศษ
- การศึกษาแบบเรียนร่วม >>> คลิ๊ก
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) **สำคัญ >>> คลิ๊ก
        
          การศึกษาแบบเรียนร่วม คือ การจัดกิจกรรมให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกันใช้ช่วงเวลาใดช่วงหนึ่งในแต่ละ
การศึกษาแบบเรียนร่วม แบ่งได้ 2 ประเภท
- การเรียนร่วมบางเวลา : การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติแค่บางเวลาเท่านั้น **วันหนึ่งวิชาหนึ่ง เช่น ดนตรี ศิลปะ พละ เป็นต้น
(เด็กที่เรียนในกลุ่มนี้จะเป็นเด็กพิเศษอยู่ในระดับปานกลางหรืออาการค่อนข้างหนัก)

- การเรียนร่วมเต็มเวลา : มีการจัดกิกรรมให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน **ใส่ใจเท่ากับเด็กปกติแต่กิจกรรมต้องเรียนได้ทุกคน
(เด็กที่เรียนในกลุ่มนี้เป็นเด็กพิเศษที่อาการไม่หนักมากหรือมีอาการค่อนข้างน้อย)

           การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
Wilson,2007 >>> การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน กิจกรรมทุกชนิดจะนำไปสู่การสอนที่ดี **กิจกรรมต้องคิดแล้วคิดอีกว่าเหมาะสมหรือป่าว

การศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกษาแบบเรียนรวมแตกต่างกัน คือ
การศึกษาแบบเรียนร่วม >>> จะอยู่ในหน่วยงานต่างๆหรือศูนย์การศึกษาพิเศษ หน่วยงานประสานกับโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้เข้ามาเรียนร่วมกันกับเด็กปกติบ้าง
การศึกษาแบบเรียนรวม >>> เด็กพิเศษสมัครเข้ามาในโรงเรียนตั้งแต่แรกเหมือนเด็กปกติ

ความหมายการศึกษาแบบเรียนรวม ในสากลหรือทั่วโลก

" Inclusive Education is Education for all,It involves receiving people at the beginning of their education.with provision of additional services needed by each individual"

"การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคนจะเกี่ยวข้องกับการรับบุคคล เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงแรกของการศึกษาในชีวิตแต่ละบุคคลต้องได้รับการช่วยเหลือที่ได้รับความต้องการของแต่ละบุคคล"

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- "สอนได้" ** สอนง่าย จำได้
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด ** กิจกรรมที่ขัดขวางคือกิจกรรมที่ยากเกินทำให้เด็กสับสน

การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับการศึกษาในรูปแบบต่างๆได้
2. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต
3. สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กพิเศษในแต่ละคนได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน
 ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา วันนี้บอกตัวเองห้ามคุยเลยนั่งห่างจากเพื่อนนิดนึงก็ไม่ได้คุยจริงๆพอไม่คุยแล้วรู้สึกบรรยากาศในห้องเงียบมาก ขนาดอาจารย์ยังถามว่าวันนี้เป็นอะไรหรือป่าวทำไมเงียบผิดปกติ วันนี้หนูไม่ได้เป็นอะไรจริงๆค่ะ แค่อยากจะลองไม่คุยดูแต่หลังๆมันอดไม่ได้จริงๆ วันนี้ตั้งใจเรียนมากมีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่อาจารย์สอน
 เพื่อน : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนเพื่อนช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทุกคนมีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากสิ่งที่อาจารย์สอน
 อาจารย์ : มาสอนตรงเวลามีเนื้อหาที่สอนครบถ้วน มีการอธิบายเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่สอนอย่างละเอียดทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย์ให้ความสนใจนักศึกษามาก ใส่ใจนักศึกษาทุกคนจำนักศึกษาได้ทุกคน ค่อยเป็นห่วงนักศึกษาเสมอ



ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2558
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 104 ห้อง 435

ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ของพี่ปี 4 ที่ไปออกค่ายอาสา ณ.จังหวัดบุรีรัมย์ให้ฟัง ทำให้พวกเราอยากไปบ้าง และอาจารย์ได้เฉลยข้อสอบปลายภาคในเทอมที่แล้วถือเป็นเรื่องที่ดีมากทำให้เราได้รู้ข้อที่ไม่แน่ใจว่าตอบถูกหรือป่าว วันนี้อาจารย์ยังให้ทำข้อสอบพรีเทสวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นการทดสอบความรู็เดิม และให้ทำข้อสอบก่อนเรียน วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมว่าเรามีความรู้มากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับวิชานี้  ในวันนี้อาจารย์ได้มีเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาสอนร้องด้วย ได้แก่เพลง


ตัวอย่างเพลง อาบน้ำ


ตัวอย่างเพลง พี่น้องกัน


ตัวอย่างเพลง มาโรงเรียน


ในการร้องเพลงครั้งนี้จะต้องร้องให้ตรงจังหวะ มีเสียงหนัก เสียงเบา ร้องให้ดูคีย์ ถึงจะเป็นร้อเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยที่ไพเราะ ในการเป็นครูปฐมวัยที่ดีจะต้องร้องเพลงเป็นและต้องร้องเพลงเพราะอีกด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถนำเพลงมาเก็บเด็กได้ หรือให้เด็กทำกิจกรรมอะไรโดยใช้เพลงนำ
2. สามารถจัดกิจกรรมที่สอดแทรกการเรียนรู้ให้เด็กได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน
ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา วันนี้คุยเยอะมาก เพราะว่านั่งกับเพื่อนที่ชอบคุยเหมือนกันเลยพากันคุยระหว่างที่อาจารย์อธิบาย ครั้งหน้าจะปรุบปรุงตนเองค่ะ เวลาร้องเพลงมีร้องเสียงเพี้ยนบ้างในบางเพลงต้องฝึกร้องบ่อยๆเวลาออกไปฝึกสอนจะได้ร้องได้ ร้องตรงจังหวะ ไม่เขิลเวลานำเพลงมาสอนเด็ก 
เพื่อน : มาเรียนตรงเวลา มีคุยกันบ้างนิดหน่อยตั้งใจร้องเพลงที่อาจารย์สอน มีการจดบันทึกเพิ่มเติม ตั้งใจเรียนและสนใจสิ่งที่อาจารย์บอก
 อาจารย์ : มาสอนตรงเวลา มีการนำข้อสอบเทอมที่แล้วมาอธิบายให้ฟัง มีเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาสอนร้องทำให้บรรยากาศภายในห้องเป็นไปอย่างสนุกสนาน วันนี้อาจารย์ไม่ค่อยสบายเลยร้องเพลงได้ไม่เต็มเสียงเท่าไหร่