ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียน กิจกรรมวาดภาพมือของเรา
รอบแรกอาจารย์ให้ใส่ถุงมือข้างที่เราไม่ถนัดและวาดรูปมือข้างนั้นให้เหมือนกับมือตัวเองจริงๆ
รอบที่ 2 อาจารย์ให้วาดมืออีกข้างโดยไม่ต้องใส่ถุงมือแล้ว วาดให้เหมือนมือของเราจริงๆ
การที่อาจารย์ให้วาดรูปมือนั้น เพราะว่ามือของเรานั้นอยู่กับเราตลอดเวลาแต่เราไม่เคยที่จะสังเกตมันเลยว่ามันมีรายละเอียดยังไง ซึ่งครูเองก็เหมือนกันครูไม่สามารถจดจำรายละเอียดของเด็กแต่ละคนได้ทั้งๆที่เห็นหน้าเด็กทุกวันครูจะต้องมีการจดบันทึกในขณะที่เห็นพฤติกรรมนั้น ไม่ใช่จำไว้แล้วค่อยมาจดบันทึกทีหลังซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ครูจะจำพฤติกรรมของเด็กได้
วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
- ทักษะของครูและทัศนคติ >>> การเป็นครูทีดีจะต้องมองเด็กพิเศษให้เหมือนเด็กทั่วไปที่อยู่ในห้องเรียนมองเขาให้เป็นส่วนหนึ่งของนักเรียนในห้อง
- การฝึกเพิ่มเติม >>> อบรมระยะสั้น,สัมมนา และ สื่อต่างๆ (หนังสือ,ยูทูป,โทรทัศน์ครู,อินเตอร์เน็ต)
- การเข้าใจภาวะปกติ >>> เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง (โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาการ)
ครูต้องเรียนรู้,มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ (พูดคุย,ทักทาย,เข้าไปช่วยเหลือ)
รู้จักเด็กแต่ละคน (เด็กแต่ละคนต่างกันครูต้องจำทั้งชื่อจริงและชื่อเ่ล่นเด็กทุกคนได้และเด็กทุกคนในห้องจะเชื่อใจและไว้ใจครู)
มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
- ความพร้อมของเด็ก >>> การสอนในของเรียนจะต้องดูความพร้อมของเด็ก คือ วุฒิภาวะ,แรงจูงใจ (สำคัญมากและเด็กแต่ละคนมีแรงจูงใจที่แตกต่างกัน) และโอกาส
- การสอนโดยบังเอิญ >>> อาจจะเกิดปัญหาในช่วงนั้นและสอนจากปัญหาที่เกิด
ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มก่อน เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น (จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เด็กวิ่งเข้ามาหาครู ในจังหวะที่เด็กมีปัญหา)
การสอนโดบบังเอิญครูต้องปฎิบัติดังต่อไปนี้
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูตู้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
- อุปกรณ์ >>> สิ่งที่ล่อตาล่อใจเด็กเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กสนใจครู เช่น บล็อก,แป้งโด
อุปกรณ์ต้องมีลักษณะที่ง่ายๆใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติและเด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ (สื่อที่เหมาะสมกับเด็กพิเศษไม่ใช่สื่อที่เล่นได้ครั้งเดียวต้องเป็นสื่อที่เล่นได้หลากหลายไม่ควรเป็นสื่อแบ่งแยกเพศ ต้องเป็นสื่อที่เล่นได้ทั้งชายและหญิง)
- ตารางประจำวัน >>> กิจกรรมต้องเรียนรู้ลำดับขั้นตอนและทำนายได้เด็กจะต้องรู็สึกมั่นใจและปลอดภัยคำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา (กิจกรรมที่ดีที่เหมาะสมกับเด็กพิเศษต้องเป็นกิจกรรมที่คาดคะเนได้ ห้องเรียนรวมกิจวัตรตารางต้องทำให้เหมือนกันทุกวัน)
ทัศนคติของครู
- ความยืดหยุ่น : แก้แผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (อย่ายึดติดกับแผน)
**ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญทีสุดสำหรับเด็กแต่ละคน
- การใช้สหวิยาการ (การรับฟังผู้อื่น) : สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน (แทรกการบำบัดเข้าไปในห้องเรียนรวม เช่น การร้องเพลง)
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้ (ที่ดีที่สุดตือ การให้แรงเสริม)
- เด็กทุกคนสอนได้ >>> เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ และ เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
- แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่ >>> ความสนใจของผู้ใหญ่ต่อเด็กนั้นสำคัญมาก มีแนวโน้นจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันทีหากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
- วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่ >>> ตอยสนองด้วยวาจา (อย่าชมเยอะเกินไป) การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก,พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง,สัมผัสทางกาย,ให้ความช่วยเหลือ,ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
ตัวอย่างเช่น เสริมแรงด้วยการให้ตุ๊กตากับเด็ก
- หลักการให้แรงเสริมให้เด็กปฐมวัย >>> ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
- การแนะนำหรือบอกบท (Prompting) ใช้ดีมากกับเด็กพิเศษ >>> ย่อยงาน ลำดับความยากง่ายของงาน การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำคัญ
- ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งานกำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบทเมื่อเด็กเรียนรู็ที่จะก้าวไปชิ้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้น ไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิงดีเท่านั้น" (อย่าคาดหวังเยอะ)
- ไม่ดุหรือตี
- การกำหนดเวลา >>> แรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
- ความต่อเนื่อง >>> สอนแบบก้าวไปข้างหน้าหรือย้อนมาจากข้างหลัง
เด็กตักซุป
- การจับช้อน
- การตัก
- การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
- การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
- การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
- การลดหรือหยุดแรงเสริม >>> ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น เอาของออกไปจากเด็กหรือเอาเด็กออกไปจากกิจกรรม
- ความคงเส้นคงวา >>> ครเป็นครูปฎิบัติกับเด็กต้นเทอมยังไงท้ายเทอมต้องปฎิบัติกับเด็กแบบนั้น
หลังเรียนอาจารย์ให้ร้องเพลงจากอาทิตย์ที่แล้วเพื่อเป็นการทบทวน
การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถเข้าใจถึงหลักการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติมากขึ้นกว่าเดิม
2. สามารถใช้หลักการสอนนี่นำไปปฎิบัติได้ในอนาคตเพื่อนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. ได้รู้จักการเสริงแรงให้เด็กว่าควรเสริมตอนไหนบ้าง และเมื่อไหร่จะไม่ควรเสริมแรงเด็ก
ประเมินหลังการเรียนการสอน
ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำ จดบันทึกเพิ่มเติมจากสิ่งที่อาจารย์สอน มีคุยกะเพื่อนบ้างนิดหน่อยเพราะเนื้อหาวันนี้ค่อนข้างเยอะเลยทำให้เกิดอาการง่วงนิดนึงค่ะ
เพื่อน : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำ ร่วมตอบคำถามภายในห้อง มีคุยบ้างนิดหน่อย เพื่อนทุกคนมีการจดบันทึกเพิ่มเติมจากสิ่งที่อาจารย์สอน มีเพื่อนบางส่วนข้ออนุญาติไปทำธุระ
อาจารย์ : มาสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น มีการพูดคุยซักถามถึงข้อสงสัยในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ ทบทวนเพลงจากอาทิตย์ที่แล้ว